0100 1011 0110 1001 0101 0100 0101 0011 0100 00010100 0100 0100 0001 0101 0011..0101 0000 0101 01010100 10010100 00010100 11100100 0111
0101 0010 0100 1001

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จอภาพ (Monitor)



เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด



- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ





จอแบบ CRT



การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron

ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย




- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที





จอแบบ LCD



การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน
ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)

เป็นอุปกรณ์ที่กำเนิดมาก่อนยุคของพีซีเสียอีก โดยเริ่มจากที่มีขนาด 8 นิ้ว กลายมาเป็น 5.25 นิ้ว จนมาถึงปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 3.5 นิ้ว ในส่วนของความจุเริ่มต้นตั้งแต่ไม่กี่ร้อยกิโลไบต์มาเป็น 1.44 เมกะไบต์ และ 2.88 เมกะไบต์ ตามลำดับ





ฟล็อปปี้ดิสก์ (Floppy Disk)



Floppy Disk Drive




ในปัจจุบันการใช้งานฟล็อปปี้ดิสก์นั้นน้อยลงไปมากเพราะ เนื่องจากจุข้อมูลได้น้อยซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการ แต่ฟล็อปปี้ดิสก์ก็ยังคงเป็นมาตรฐานหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องต้องมี การพัฒนาฟล็อปปี้ดิสก์ก็ไม่ได้หยุดยั้งไปเสียทีเดียว ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ที่ใช้ระบบ Optical ทำให้สามารถขยายความจุไปได้ถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น
Kapook Glitter



ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)


เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน


- IDE (Integrated Drive Electronics)
เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด




ซีพียู (CPU)


ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ

1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้

2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , At




เมนบอร์ด (Main board)

แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด








คีย์บอร์ด (Keyboard)

เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก




Power Supply

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ



เคส (case)

เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น

วันอาทิตย์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2553




Monitor คือส่วนที่จะแสดงผลลัพธ์หรือเอ้าท์พุท จากการทำงานของคอมพิวเตอร์ออกมาทางจอภาพให้เราได้เห็นกันโดย Monitor จะมีสายสัญญาณเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โดยตรง

ส่วนสำคัญที่ทำให้ภาพมาปรากฏบนจอภาพได้คือสิ่งที่เราเรียกว่า ซีอาร์ที(Cathode-ray-tube หรือ หลอดคาโธด-เร)



หลอดคาโธด-เร นั้นเป็นหลอดสูญญากาศ ประกอบด้วยปืนอิเล็คตรอน(Electronic gun) กระบอกเดียวหรือหลายกระบอกสำหรับเอาไว้ยิงอิเล็คตรอนออกมาเพื่อทำให้เกิดลำแสงซึ่งกวาดไปบนจอภาพข้างหนึ่งไปสู่อีกข้างหนึ่ง
จอภาพนั้นเคลือบด้วยสารเรืองแสงชนิดหนึ่ง เมื่อมีลำแสงอิเล็คตรอนมากระทบสารชนิดนี้จะเกิดแสงขึ้นมา
จอภาพหลายสีซึ่งเราเรียกว่า จอสี นั้นจะมีปืนอิเล็คตรอนอยู่ 3 กระบอก ปืนแต่ละกระบอกจะยิงอิเล็คตรอนเทื่อมากระตุ้นให้สารที่เคลือบจอภาพอยู่เรียงแสงสีที่แตกต่างกันออกไป
ได้แก่กระบอกหนึ่งจะทำให้สารเคลือบเรืองแสงสีแดง อีกกระบอกหนึ่งจะทำให้ สารเคลือบเรืองแสงสีเขียว และ อีกกระบอกหนึ่งจะทำให้สารเคลือบเรืองแสงน้ำเงิน สารที่เคลือบจอภาพอยู่เรืองแสงสีที่แตกต่างกันออกไป
แสงที่เกิดขึ้นบนจอภาพทั้ง 3 สี คือ แดง เขียว และน้ำเงิน จะกวาดตั้งแต่ทางด้านซ้ายมือไปทางด้านขวามือ และจะกวาดตั้งแต่ทางด้านบนลงมาทางด้านล่างของจอภาพ
ลำแสงที่ยิงออกมาจากปืนอิเล็คตรอนนี้จะถูกทำให้หักเหโดยส่วนที่เรียกว่า โยค(Yoke) ซึ่งอยู่ตรงคอของหลอดภาพ
ในขณะที่ลำแสงถูกยิงจากปืนอิเล็คตรอนเพื่อให้ไปกระทบกับสารเรืองแสงบนจอภาพนั้น สารเรืองแสงเหล่านั้นมีลักษณะเป็นจุดๆๆๆเล็กๆเรียงกันเป็นแถว เรียกว่า Pixel (พิกเซล)
ตามปกติจำนวน pixel นี้จะมีมากหรือน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับคุณภาพของจอภาพหรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า จอภาพจะมีคุณภาพดีเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวน (Pixel) ถ้าจอภาพมีจำนวนพิกเซลมาก หนาแน่ ภาพที่ได้ก็จะคมชัด
Pixel (พิกเซล) คือส่วนที่เล็กที่สุดบนจอภาพที่สามารถควบคุมได้ จอภาพยิ่งมีจำนวนพิกเซลมาก ภาพก็ยิ่งมีความคมชัดมาก
จอภาพที่มีพิกเซล 640 x 480 pixel หมายความว่า บนจอภาพนั้นมีพิกเซลตามนอน 640 และมีพิกเซลตามแนวตั้ง480 พิกเซล
การที่จอภาพแต่ละจอมีจำนวน pixel หรือจุดแสง มากน้อยแตกต่างกันนี้ ทำให้คุณภาพของภาพ หรือตัวอักษรที่ปรากฏ บนจอภาพนั้นมีความชัดเจน หรือไม่ชัดเจนแตกต่างกัน
การที่มีจำนวนจุดมาก หรือน้อยบนจอภาพนั้น เขาเรียกว่า รีโซลูชั่น (resolution)
รีโซลูชั่น หมายถึง จำนวนจุดที่เรียงกันไปตามแนวนอน คูณกับจำนวนจุดที่เรียงกันลงไปทางตั้ง เช่น จอภาพประเภท high resolution อาจจะมี pixel (จุดแสง) ที่เรียงลำดับกันตามแนวนอน 640 จุด และเรียงกันอยู่ในทางตั้ง 800 จุด
ส่วนจอภาพบางประเภทอาจมีรีโซลูชั่นที่ต่ำ หรือ Low Resolotion คือมีจุดภาพทางแนวนอน 80 จุด และจุภาพทางแนวตั้ง เพียง 100 จุด เส้นภาพที่ออกมาทางจอภาพก็จะแลเห็นเป็นหยักๆ ไม่ราบเรียบ เป็นต้น
ถ้าเราแบ่งชนิดของจอภาพ โดยใช่จำนวนพิกเซล (Pixel) เป็นเกณฑ์แล้วเราก็จะได้จอภาพหลายชนิด จอภาพแต่ละชนิดก็ให้ ภาพและตัวอักษรบนจอภาพที่มีคุณภาพแตกต่างกันออกไป เช่น
จอภาพโมโนโครม (Monochrome) เป็นจอภาพสีเดียว มักมีสีเขียว เหลืองอำพันหรือขาวบนพื้นจอภาพสีดำ รีโซลูชั่นหรือจอภาพแบบโมโนโครม มักมี 640 x 350 พิกเซล
จอภาพสี CGA มาจากคำว่า Color Graphic Adapter เป็นจอภาพสีชนิดมี รีโซลูชั่นต่ำเพราะมีสีเพียงไม่กี่สี
จอภาพ EGA ย่อมาจากคำว่า Enhanced Graphic Adapter เป็นจอภาพสีชนิดมีคุณภาพสีดีขึ้น มีรีโซลูชั่น สูงขึ้น และมีสีมากขึ้นด้วย
จอภาพ VGA ย่อมาจากคำว่า Video Graphic Array เป็นจอภาพที่มีคุณภาพดีมากมี รีโซลูชั่นสูง
จอภาพแบบซูเปอร์วีจีเอ (Super VGA) เป็นจอภาพที่มีคุณภาพเหนือกว่า จอภาพ VGA และราคาแพงกว่าด้วย ในปัจจุบัน จอภาพทีใช้กันจะเป็นแบบ Super VGA ที่มีคุณภาพดีที่สุดในขณะนี้





เมาส์ (อังกฤษ: mouse) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมตัวชี้บนจอคอมพิวเตอร์ mouse pointerเป็นอุปกรณ์สำคัญในการใช้งานคอมพิวเตอร์ชิ้นหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันถูกออกแบบมาให้มีรูปร่าง ลักษณะ สีสรร ต่างๆกัน บางรุ่นมีไฟประดับให้สวยงาม เพื่อให้เมาะสมกับการใช้งานในแต่ละประเภทและความชื่นชอบของผู้ใช้ เช่นมีขนาดเล็ก มีส่วนโค้งและส่วนเว้าเข้ากับอุ้งมือของผู้ใช้ มีรูปร่างสีสรรแปลกตาไปจากรุ่นทั่วๆไป หรือเป็นรูปตัวการ์ตูน และล่าสุดได้มีการพัฒนา เมาส์อากาศ Air Mouse ซึ่งสามารถใช้งานเมาส์โดยถือขึ้นมาเอียงไปมาในอากาศโดยไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง ก็สามารถควบคุมตัวชี้ได้เช่นกัน



การทำงานของเมาส์ ภายในตัวเมาส์จะมีอุปกรณ์สำหรับตรวจจับตำแหน่งการเคลื่อนไหวของลูกกลิ้งยาง(ในรุ่นเก่า)หรืออุปกรณ์ตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสง (ในเมาส์ที่ใช้แอลอีดีหรือเลเซอร์เป็นแหล่งกำเนิดแสง) โดยตัวตรวจจับจะส่งสัญญาณไปที่คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงผลของตัวชี้บนหน้าจอคอมพิวเตอร์



การเชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ การใช้งานเมาส์ร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะต้องมีการต่อมันเข้ากับช่องต่อของคอมพิวเตอร์ ซึ่งในยุคแรกๆนั้นช่องสำหรับต่อเมาส์จะมีลักษณะเป็นหัวกลมใหญ่ภายในมีขาเป็นเข็มเรียกว่าแบบ DIN ต่อมามีการพัฒนาช่องต่อเป็นแบบหัวเข็มที่เล็กลงเรียกว่า PS2 แต่การเชื่อมต่อทั้งสองแบบนั้นไม่สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้หลากหลาย จึงมีการพัฒนาช่องต่อแบบ USB ขึ้นมา และในเวลาใกล้ๆกันก็ได้มีการพัฒนาการเชื่อมต่อเมาส์แบบไร้สายขึ้นมาโดยใช้สัญญานวิทยาเป็นตัวเชื่อมต่อแทนสายเรียกว่า Wireless mouse



เมาส์ได้ชื่อมาจากรูปร่างของตัวมันเอง และสายไฟ ซึ่งมีลักษณะคล้ายหนูเมาส์และหางหนู และขณะเดียวการเคลื่อนที่ของตัวชี้บนหน้าจอมีลักษณะการเคลื่อนที่ไม่มีทิศทางเหมือนการเคลื่อนที่ของหนู